วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1. เว็บไซต์ (Website) หมายถึง ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา

เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com www.yahoo.com www.sanook.com เป็นต้น
1.1 การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2 การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน

2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่ เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง คือ สุนทรภู่ และระบุหัวข้อเรื่อง คือ นิราศ ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น

3. ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูล คือ แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
ออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ คือ
"และ" ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" และ "เรื่องสั้น" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
"หรือ" ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" หรือ "ทมยันตี" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ว.วินิจฉัยกุล และทมยันตี ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
"ไม่" ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" ไม่ "ประวัติ" ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล เลย
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม ? ใช้แทนอักษร 1 ตัว
เครื่องหมายดอกจัน* ใช้แทนอักษรหลายตัว
ตัวอย่าง ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
ต้องการค้นเรื่อง ปัญจวัคคีย์ แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์ ปัญจวัคคี*
3. ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย


ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3058

การโอนย้ายโดเมนเนม

การโอนย้ายโดเมนเนม

การโอนย้ายโดเมนเนม มี 2 ลักษณะ คือ

Transfer Registrar
คือ การเปลี่ยนผู้ให้บริการโดเมนเนมหลัก เช่น โอนจาก Directi --> OnlineNIC เป็นต้น การ Tranfer Registrar สิ่งที่ท่านจะต้องทำก่อนการโอนย้ายโดเมนเนม ได้แก่ ติดต่อผู้ให้บริการโดเมนเนมรายเดิมของท่าน เพื่อให้ทำการ Unlock โดเมนเนม พร้อมกับขอหมายเลข Transfer Secret หรือ Authentic Code มาด้วย


Transfer Reseller
คือ การเปลี่ยนตัวแทนผู้ให้บริการโดเมน โดยโดเมนเนมยังคงอยู่กับผู้ให้บริการโดเมนเนมหลัก (Registrar) รายเดิม เช่น โดเมนเนมของท่านเดิมจดไว้กับ OnlineNIC โดยจดผ่านทาง Abcwebhost.com แต่ต่อมาต้องการ เปลี่ยนตัวแทนผู้ให้บริการ จาก Abcwebhost.com มาอยู่กับทางเรา ซึ่งเป็น Reseller ของ OnlineNIC เหมือนกัน เป็นต้น การ Transfer Reseller ท่านต้องแจ้งให้ผู้บริการโดเมนเนมเดิมของท่าน เป็นผู้ดำเนินการให้เท่านั้น ท่านไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง

ขั้นตอนการโอนย้ายโดเมนเนม :

ตรวจสอบก่อนว่าโดเมนเนมของท่านจดไว้กับ Registrar รายใด (สอบถามจากผู้ให้บริการโดเมนเนมเดิม)


หากโดเมนเนมของท่านจดไว้กับ OnlineNIC และต้องการ Transfer Reseller มาอยู่กับทางเรา ต้องแจ้งให้ผู้บริการเดิมของท่าน ทำการ Transfer Reseller มาที่: Reseller ID: 351570


หากท่านต้องการ Transfer Registrar กรุณาติดต่อผู้ให้บริการเดิมของท่านเพื่อทำการ Unlock โดเมนเนมและขอหมายเลข Transfer Secret หรือ Authentic Code มาด้วย


หลังจากท่านเตรียมความพร้อมในการโอนย้ายโดเมนเนมเรียบร้อยแล้ว กรุณากรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มนี้

ที่มา : http://www.thtfreeweb.com/aticle2.html

Gmail คืออะไร

Gmail คืออะไร?

เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีอีเมลมีอยู่มากมาย แต่ที่เป็นที่นิยมและเป็นรายใหญ่คงจะหนีไม่พ้น Hotmail และ Yahoo แต่แล้วสองยักษ์ใหญ่ในวงการอีเมลก็ต้องหวาดกลัว เมื่อ Google ที่เป็นเจ้าแห่งการ Search Engine ประกาศจะทำการเปิดบริการ Gmail ฟรีอีเมลใหม่ ซึ่งจะให้เนื้อที่แก่ผู้ใช้บริการมากถึง 1 กิกะไบต์ หรือ 1,000 เมกกะไบต์ (MB) ซึ่งมากกว่า Yahoo และ Hotmail ประมาณพันเท่า ซึ่งทำให้ในอนาคต Google จะกลายเป็นคู่แข่งของ Microsoft ในเรื่องให้บริการฟรีอีเมล

รายละเอียดของ Gmail
Gmail คือบริการฟรีอีเมลที่ทำงานบนระบบ Search Engine หน้าตาดูจะไม่แตกต่างจากรูปแบบของ Google เท่าไหร่ กล่าวคือไม่มีลูกเล่น ดูเรียบง่ายแต่เน้นที่ความรวดเร็วในการเข้าถึงเป็นหลัก สัญลักษณ์ (logo) นั้นประกอบไปด้วย 4 สี คือ น้ำเงิน เขียว แดง และเหลือง ยังคงความเป็น Google ได้ดีมาก โดยหน้าหลักของ Gmail ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่หนึ่ง คือส่วนด้านซ้าย ทำหน้าที่คล้ายๆกับบริการฟรีอีเมลอื่น ๆ นั่นคือให้เข้าถึงส่วนต่าง ๆ ของบริการได้ง่าย ประกอบด้วย Inbox , Sent mail , All mail , Spam หรือ Junk mail , Trash
ลูกเล่นที่น่าสนใจ “Starred” เป็นส่วนพิเศษที่เว็บอื่นไม่เคยมีให้ Starred เป็นการทำเครื่องหมาย (Mark) ให้แก่จดหมาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของผู้ใช้ว่า อีเมลที่ถูก mark นั้น สำคัญกว่าอีเมลอื่นๆ และอีกส่วนหนึ่งคือ Labels ซึ่งทำงานคล้ายกับ folder เราสามารถเพิ่มเข้าไปในจดหมายฉบับใดก็ได้ และในแต่ละ folder ก็จะมี labels ได้หลายอัน หลายท่านอาจจะมองภาพไม่ออก จึงขอยกตัวอย่างให้ดู เช่น แฟ้มเก็บเอกสาร 1 แฟ้ม ในเอกสารทั้งหมดอาจจะมีแผ่นกระดาษแทรกแบ่งเอาไว้ด้วยว่า ช่วงหน้าไหนมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ก็เป็นทำนองเดียวกัน labels ก็คือส่วนที่จะบอกเราได้ว่าจดหมายฉบับไหนเป็นอะไร ซึ่งจะเป็นการแยกย่อยลงไปได้อีกในแต่ละ folder
ส่วนที่สอง คือ ส่วนกลาง จะเป็นจดหมาย ประกอบด้วยชื่อผู้ส่ง, หัวข้อจดหมาย, เวลาที่รับจดหมายเข้ามา นอกจากนี้แล้ว ยังมีปุ่มใช้งานทั้งบนและล่างของส่วนกลาง ซึ่งเราสามารถที่จะใช้ปุ่มเหล่านี้ทำงานคู่กับการทำเครื่องหมายถูกหน้าจดหมาย หลังจากนั้นเลือก Report As Spam จะเป็นการบอกให้ Gmail ทราบว่าจดหมายฉบับนี้เป็นอีเมลขยะ ดังนั้นระบบทำการจัดเก็บ เพื่อทำเป็นฐานข้อมูลในการตรวจจับspam ในคราวต่อไป เป็นต้น
ส่วนที่สาม เป็นส่วนที่ทำให้ Gmail พิเศษกว่าที่อื่น คือ “ การค้นหาอีเมล” (search mail) เพียงแค่ใส่คำหลัก(key words) ลงไป แล้วกด search mail จากนั้นการทำงานก็จะเหมือน Search Engine ทุกประการ อีเมลทุกฉบับที่มีคำหลักนั้นก็จะปรากฏขึ้นมา ซึ่งในส่วนนี้ จะรวดเร็ว ง่าย และเปี่ยมประสิทธิภาพ เป็นหัวใจหลักของ search mail ที่ Gmail ต้องการมีไว้สำหรับใช้ดึงดูดผู้ใช้บริการ เนื่องจาก Gmail แปลงจากระบบกล่องเก็บจดหมาย มาเป็น “ห้องสมุดเก็บจดหมาย” โดยใช้ระบบ Indexing Technology ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถที่จะเก็บอีเมลได้มากเท่าที่ต้องการ
ข้อควรระวังในการใช้ Gmail
ถึงเราจะลบรายชื่อเมลแล้ว ก็ยังสามารถ Search หาใหม่ได้ทุกเมื่อ เนื่องจากอีเมลนั้นก็เพียงแต่หายไปจากเครื่อง แต่มิได้หายไปจากฐานข้อมูลของ Google นั่นหมายความว่า อีเมลส่วนตัวทุกฉบับที่มีการส่งถึงกันระหว่างผู้ใช้บริการ Gmail จะต้องผ่านการตรวจสอบและสแกนจากทาง Google เพื่อที่จะนำเข้าสู่ฐานข้อมูล Search Engine E-mail ซึ่งทางด้านกฎหมายถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (เหมือนกับว่าทาง Google จะสามารถล่วงรู้ความลับของเราได้ทุกเมื่อ หากมีการติดต่อกันผ่านทางอีเมล) ดังนั้นหากมีอีเมลที่เป็นความลับ หรือเป็นส่วนตัว ไม่อยากเก็บไว้ เราก็จะไม่มีทางลบให้หายไปได้อย่างถาวร เนื่องจากทุกอย่างขึ้นตรงกับ Google แต่เพียงผู้เดียว

ที่มา : http://www.thtfreeweb.com/gmail.html
html คืออะไร

ภาษา HTML เป็นภาษาพื้นฐานหรือเป็นเรื่อง BASIC ที่ผู้ต้องการจัดทำเว็บไซต์จำเป็นต้องรู้ โปรแกรมอย่าง Dreamweaver ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เราไม่ต้องเรียนรู้ภาษา HTML เราก็สามารถสร้างเว็บเพจได้ แต่รู้ไหมว่า...กว่า 80 % ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบเว็บ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องของภาษาพื้นฐาน HTML นี้ พอมีปัญหาก็ไม่อาจจะแก้ไขได้
html คือ HTML ย่อมาจากคำว่า HyperText Markup Language เป็นภาษาที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ เป็นภาษาที่พัฒนาโดย World Wide Web Consortium(W3C) HTML เป็นภาษาที่สำคัญมากกับเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ ไม่ว่าคุณจะเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ด้วยภาษาใด ๆเช่น PHP, ASP, Perl หรืออื่น ๆ คุณก็ต้องมีความจำเป็นในการแสดงผลข้อมูลออกมายัง Web Browser ด้วยภาษา HTML เป็นหลักใหญ่หรือมองว่า HTML คือ Output ในการแสดงผลสู่จอภาพของ Web Browser

รูปแบบการเขียนของภาษา HTML HTML มีรูปแบบการเขียนในลักษณะ TAG ซึ่ง TAG นี้จะมีทั้ง TAG เปิด และ Tag ปิด โดยที่ TAG จะมีลักษณะ ดังนี้ ………………… คือ TAG เปิด คือ TAG ปิด แต่กระนั้นในภาษา HTML ก็ยังมีรูปแบบของ TAG อีกประเภทหนึ่ง คือ TAG เดี่ยว ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมี TAG ปิดเข้าร่วมด้วย เช่น
เป็น TAG สำหรับการขึ้นบรรทัดใหม่ของ HTML เป็น TGA สำหรับการแสดงรูปภาพภาษา HTML เป็นภาษาที่ไม่คำนึงถึงขนาดของตัวอักษร เช่น TAG เราจะเขียนเป็น or ก็จะสามารถแสดงผลได้เช่นเดียวกันและภาษา HTML ไม่มีการแจ้ง Error แต่อย่างใดหากผู้เขียนมีการเขียน TAG ซึ่งผิดพลาด เพียงแต่ภาษา HTML จะไม่แสดงผลตามที่ต้องการเท่านั้นหากเรามีการเขียน TAG คำสั่งผิดพลาด.

ที่มา : http://region1.prd.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=784:html-&catid=62:2009-04-30-03-48-42&Itemid=98

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

Blog คืออะไร

Blog มาจากทำว่า Webblog : “Web” เป็นคำนามเฉพาะ ย่อมาจาก “World Wide Web” ความหมายสั้น ๆ คืออินเตอร์เน็ต + log การจัดเก็บ บันทึก ดังนั้น Web-blog คือการเก็บการจดบันทึกบนโลกอินเตอร์เน็ต เป็น Personal Website ประเภทหนึ่งแต่ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็น ช่องทางการสื่อสารหลาย ๆ เรื่องเช่น เรื่องธุรกิจ การค้าขาย การร้องเรียน การประชาสัมพันธ์ สเน่ห์ของ Blog อยู่ที่ความไม่เป็นทางการ หรือความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียน Blog กับผู้ติดตามอ่าน Blog ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Blog หลายรายทั้งให้บริการฟรีโดย Server ของผู้ให้บริการเอง อาทิเช่น Blogger ของ Google, Wordpress.com, Yahoo360 ของไทยก็มี Bloggang.com ของพันทิพ, StoryThai.com หรือเป็น Blog ที่เจ้าของ Blog เอามาติดตั้งบนโฮสติ้งของตัวเอง เช่น Wordpress.org ,Drupal SEOSamutprakarn ก็เป็น Blog ประเภทหลังนี่เช่นกัน

Blogger คืออะไร Blogger เริ่มต้นจากบริษัทเล็กๆ ในซานฟรานซิสโกในปี 1999 นับตั้งแต่ Blogger เปิดตัวก็ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของเว็บ สร้างผลกระทบต่อการเมือง เขย่าวงการสื่อสารมวลชน และทำให้คนนับล้านได้แสดงออกและติดต่อกับบุคคลอื่น ณ.ปัจจุบัน Blogger ได้ถูกซื้อไปอยู่ในความครอบครองของ Google เรียบร้อยแล้ว

ทำไมต้องใช้ Blogger

1.ใช้งานง่าย แค่มีบัญชีอีเมล์ของ Google นั่นก็คือ Gmail คุณก็สามารถสร้าง Blog ออกมาได้นับไม่ถ้วน
2.ปรับแต่งง่าย มีเทมเพลต พร้อมทั้ง Gadget มากมายให้เลือกใช้ เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวของคุณ
3.ไม่ล่ม แน่นอนครับก็มี Google ดูแลอยู่นี่นา
4.ข้อสุดท้ายสำคัญที่สุด สามารถนำมาติดโฆษณาหารายได้จาก Google Adsense ได้อย่างง่าย ๆ หลาย ๆ คนเอามันมาเป็นสะพานเพื่อสมัคร Google Adsense
เมื่อนับข้อดีได้สี่ข้อแล้ว ก็ไปใช้ Blogger กันเถอะ แต่ก่อนอื่นไปสมัคร Gmail ไว้ซะก่อน ..

ที่มา : http://www.seosamutprakarn.com

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต




1. เว็บไซต์ (Website) หมายถึง ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา

เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com www.yahoo.com www.sanook.com เป็นต้น
1.1 การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2 การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน

2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่ เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง คือ สุนทรภู่ และระบุหัวข้อเรื่อง คือ นิราศ ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น

3. ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูล คือ แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
ออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ คือ
"และ" ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" และ "เรื่องสั้น" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
"หรือ" ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" หรือ "ทมยันตี" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ว.วินิจฉัยกุล และทมยันตี ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
"ไม่" ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" ไม่ "ประวัติ" ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล เลย
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม ? ใช้แทนอักษร 1 ตัว
เครื่องหมายดอกจัน* ใช้แทนอักษรหลายตัว
ตัวอย่าง ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
ต้องการค้นเรื่อง ปัญจวัคคีย์ แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์ ปัญจวัคคี*
3. ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย



ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3058

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต

      จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ต (Netiquette) ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในแทบทุกด้าน รวมทั้งได้ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาขึ้นในสังคม ไม่ว่าในเรื่อง ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย เสรีภาพของการพูดอ่านเขียน ความซื่อสัตย์ รวมถึงความตระหนักในเรื่องพฤติกรรมที่เราปฏิบัติต่อกันและกันในสังคมอินเทอร์เน็ต ในบทความนี้ผู้เขียนขอทบทวนเรื่อง จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “Netiquette” เพื่อให้เป็นของฝากสำหรับสมาชิกใหม่ที่เรียกกันว่า “Net Newbies” และให้เป็นของแถมเพื่อการทบทวนสำหรับนักท่องเน็ตที่เป็น “ขาประจำ”

     Netiquette คืออะไร
Netiquette เป็นคำที่มาจาก “network etiquette” หมายถึง จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต หรือ cyberspace ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยน สื่อสาร และทำกิจกรรมรวมกัน ชุมชนใหญ่บ้างเล็กบ้างบนอินเทอร์เน็ตนั้น ก็ไม่ต่างจากสังคมบนโลกแห่งความเป็นจริง ที่จำเป็นต้องมีกฎกติกา (codes of conduct) เพื่อใช้เป็นกลไกสำหรับการกำกับดูแลพฤติกรรมและการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิก

    บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้เริ่มต้น
ถ้าศึกษาค้นคว้าในเรื่อง Netiquette บนเว็บ จะพบการอ้างอิงและกล่าวถึง The Core Rules of Netiquette จากหนังสือเรื่อง “Netiquette” เขียนโดย Virginia Shea ซึ่งเธอได้บัญญัติกฎกติกาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพึงตระหนักและยึดเป็นแนวปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้
  • Remember the Human
กฏข้อที่ 1 เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในขณะที่เรานั่งพิมพ์ข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านจอคอมพิวเตอร์นั้น ต้องไม่ลืมว่าปลายทางอีกด้านหนึ่งของการสื่อสารนั้นที่จริงแล้วก็คือ “มนุษย์”
  • Adhere to the same standards of behavior online that you follow in real life
กฎข้อที่ 2 เป็นหลักคิดง่าย ๆ ที่อาจจะยึดเป็นแนวปฏิบัติ หากไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ก็ให้ยึดกติกามารยาทที่เราถือปฏิบัติในสังคมมาเป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันแบบออนไลน์
  • Know where you are in cyberspace
กฎข้อที่ 3 เป็นข้อแนะนำให้เราใช้งานอย่างมีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ ณ ที่ใด เมื่อเข้าในพื้นที่ใหม่ ควรศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนนั้น ก่อนที่จะเข้าร่วมสนทนาหรือทำกิจกรรมใด ๆ
  • Respect other people's time and bandwidth
กฎข้อที่ 4 ให้รู้จักเคารพผู้อื่นด้วยการตระหนักในเรื่องเวลา ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดช่องสัญญาณของการเข้าถึงเครือข่าย นั่นคือ ให้คำนึงถึงสาระเนื้อหาที่จะส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสนทนาหรือการส่งอีเมล เราควรจะ “คิดสักนิดก่อน submit” ใช้เวลาตรึกตรองสักหน่อยว่า ข้อความเหล่านั้นเหมาะสมหรือมีสาระประโยชน์กับใครมากน้อยเพียงใด
  • Make yourself look good online
กฎข้อที่ 5 เป็นข้อแนะนำผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการเขียนและการใช้ภาษา เนื่องจากปัจจุบันวิธีการสื่อสารบนเน็ตใช้การเขียนและข้อความเป็นหลัก การตัดสินว่าคนที่เราติดต่อสื่อสารด้วยเป็นคนแบบใด จะอาศัยสาระเนื้อหารวมทั้งคำที่ใช้ ดังนั้น ถ้าจะให้ “ดูดี” ก็ควรใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและตรวจสอบคำสะกดให้ถูกต้อง
  • Share expert knowledge
กฎข้อที่ 6 เป็นข้อแนะนำให้เรารู้จักใช้จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของอินเทอร์เน็ต นั่นคือ การใช้เครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยน ”ความรู้” รวมทั้งประสบการณ์กับผู้คนจำนวนมาก ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
  • Help keep flame wars under control
กฎข้อที่ 7 เป็นข้อคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยควบคุมและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งความคิดเห็นด้วยการใช้คำที่หยาบคาย เติมอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรงจนเป็นชนวนให้เกิดกรณีทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มสมาชิก ซึ่งรู้จักกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “flame”
  • Respect other people's privacy
กฎข้อที่ 8 เป็นคำเตือนให้เรารู้จักเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่นไม่อ่านอีเมลของผู้อื่น เป็นต้น
  • Don't abuse your power
กฎข้อที่ 9 เป็นคำเตือนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ผู้ดูแลระบบบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ควรใช้อำนาจหรือสิทธิ์ที่ได้รับไปในทางที่ไม่ถูกต้องและเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น
  • Be forgiving of other people's mistakes
กฎข้อที่ 10 เป็นคำแนะนำให้เรารู้จักให้อภัยผู้อื่น โดยเฉพาะพวก newbies ในกรณีที่พบว่าเขาทำผิดพลาดหรือไม่เหมาะสม และหากมีโอกาสแนะนำคนเหล่านั้น ก็ควรจะชี้ข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำอย่างสุภาพ โดยอาจส่งข้อความแจ้งถึงผู้นั้นโดยตรงผ่านทางอีเมล

    แหล่งที่มา : th.wikipedia.org/wiki/มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต คือ อะไร...?

      อินเตอร์เน็ต(Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงติดต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ ที่รวบรวมความรู้ทุกๆด้านให้ผู้ที่ต้องการค้นคว้าหาข้อมูลเข้าไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังห้องสมุดด้วยตนเอง

     ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต


ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในต่างประเทศ


- อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD)
- ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) ARPA ได้ถูกก่อตั้งและได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
- ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง

- ค.ศ.1980 (พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน


ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

- พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า
- พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า "เครือข่ายไทยสาร"
- พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บิษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ : http://school.obec.go.th/phusing/html/chapter1.htm

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

คลิปภาพเหตุการณ์ระทึก น้ำป่าจากภูเขาหลวงพลัดถล่มพื้นที่บ้านกรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

            

     วันนี้ 1 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงาน  ได้มีการนำคลิปวิดีโอ ภาพเหตุการณ์ น้ำป่าจากภูเขาหลวงพลัดถล่มพื้นที่บ้านกรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 31 มี.ค.54 ที่ผ่านมา
        จนต่อมาเจ้าหน้าที่ทหารกองทัพภาคที่ 4 ต้องปฏิบัติการช่วยอพยพชาวบ้านกรุงชิง ออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน หลังเกิดฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วม ดินถล่มในพื้นที่สะพานเข้าพื้นที่ถูกน้ำซัดจนขาด 
ชาวบ้านถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานพยายามเข้าช่วยอพยพชาวบ้านและลำเลียงด้วย ฮ.ไปอาศัยอยู่ในที่ปลอดภัย  







ที่มา : http://news.impaqmsn.com/articles_hn.aspx?id=407265&ch=hn

สงกรานต์"54 เน้นปลอดเหล้า-คุมเข้มเล่นน้ำท้ายรถกระบะ

 

    รมช.สาธารณสุข เผย สงกรานต์ 2554 เน้นพื้นที่ปลอดภัย-ปลอดเหล้า ด้านที่ปรึกษาสสส. จี้ตำรวจคุมเข้มเล่นน้ำท้ายรถกระบะ เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุ...


       เมื่อวันที่ 16 มี.ค. นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีประกาศเจตนารมณ์ “สงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า” ประจำปี 2554 ร่วมกับนายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ว่า เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นช่วงอันตราย เพราะอุบัติเหตุจากการเดินทางและการเล่นน้ำที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเครื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดความสูญเสีย การขาดสติ และนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ จากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 เม.ย.53 มีมติสนับสนุนข้อเสนอที่ว่าด้วยการห้ามดื่ม ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่เล่นน้ำสาธารณะ รณรงค์เล่นสงกรานต์อย่างปลอดภัย เพื่อลดความสูญเสีย ปกป้องเด็ก เยาวชน และวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่ โดย ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาคณะกรรมการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ตอนนี้พฤติกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์เปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะการนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาดื่มเพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเล่นน้ำ และการเมาแล้วขับยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ช่วง 7 วันอันตรายในเทศกาลสงกรานต์ปี 2553 มียอดผู้เสียชีวิตมากถึง 361 ราย บาดเจ็บ 3,802 ราย และมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 3,516 ครั้ง ซึ่งคงต้องขอความร่วมมือไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดขึ้น เพื่อให้ลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ โดยเฉพาะการเล่นน้ำท้ายรถกระบะ  ด้าน ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า จากผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขต กทม. เกี่ยวกับการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ในปีที่ผ่านมา พบว่าร้อยละ 87.8 อยากให้สนับสนุนเขตเล่นน้ำสงกรานต์สนุกสนาน ปลอดภัย โดยระบุว่า พื้นที่สนุกสนานปลอดภัย คือ ไม่มีคนเมา ไม่มีการลวนลาม การกระทำอนาจาร โคโยตี้ ไม่มีเรื่องชกต่อยทะเลาะวิวาท อีกร้อยละ 61.2 ยังเห็นว่า หน้าบ้านตัวเองเป็นพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ปลอดภัยที่สุด และในปีนี้มีหลายพื้นที่จัดโซนนิ่ง ให้เป็นพื้นที่เล่นสงกรานต์ และห้ามนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป โดยขยายเพิ่มขึ้นกว่า 40 พื้นที่ทั่วประเทศ.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

!! ระวังภัยเฟสบุค ...และแง่คิด คนไอทีที่ไม่มีตัวตน !!!



ในปัจจุบัน นอกจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องพบกับปัญหาสแปมเมล์ หรืออีเมล์ขยะ ที่แฝงตัวเข้ามาในอีเมล์ส่วนตัวโดยที่เราไม่รู้จักผู้ส่งมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอีเมล์เชิญชวนซื้อสินค้า หรือแนะนำให้เข้าร่วมทำธุรกิจออนไลน์ที่สร้างความรำคาณไม่น้อยให้กับผู้ใช้งาน ล่าสุดสแปมเหล่านี้ยังเริ่มคืบคลานเข้าสู่กระแสโซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่างเฟสบุ๊ก ซึ่งจะมาในรูปแบบของการเชิญชวนให้เข้าร่วมกิจกรรม

ยกตัวอย่างเช่น “รับทีมโปรโมต web site Magazine Online” “อยากมีตังเยอะๆ อยากไปช็อปปิ้ง” หรือ “รู้ไหมว่าสุขภาพที่ดี ส่งผลกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น!!”
เพื่อให้สมาชิกกดตอบตกลงเข้าร่วมกิจกรรม

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สแปมดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นบนเฟสบุ๊ก แม้ว่าเว็บไซด์เครือข่ายสังคมจะเป็นสถานที่ที่ผู้คนนิยมใช้ในการแสดงตัวตนให้บุคคลอื่นรับรู้

นักศึกษามหาวิทยาลัยชื่อดังในเชียงใหม่รายหนึ่งพูดถึงปัญหาสแปมบนเฟสบุ๊กว่า ทุกครั้งที่เข้ามาในเฟสบุ๊กจะเห็นว่ามีกิจกรรมเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่เรายังไม่เคยไปตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมจากที่ไหน แต่มันเป็นการเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม
“แต่ละวันจะเข้ามาประมาณ 3-4ครั้ง แม้ว่าเราจะกดไม่เข้าร่วมกิจกรรม มันก็ยังส่งมาอีก แต่เปลี่ยนชื่อคนส่งแทน”

จากปัญหาสแปมที่เริ่มเข้ามาระบาดบนเฟสบุ๊กได้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ทำให้มีสมาชิกเว็บบอร์ดพันธุ์ทิพย์ ดอทคอม ห้องเฉลิมไทย ที่ใช้ชื่อล็อกอินว่า "แพนิดา" ออกมาตั้งกระทู้เตือนภัยสแปมดังกล่าว โดยพาดหัวว่า
"ฝากเตือน ธุรกิจอาหารเสริม HBL ที่มาในรูปแบบ JUMP magazine online"

ภายในกระทู้ดังกล่าวพูดถึงปัญหานี้ว่า "เราเป็นคนหนึ่งที่เคยโดนนิตยสาร JUMP Magazine online ติดแท๊กรูปของนิตยสารบนเฟสบุ๊ก
ด้วยความอยากรู้อยากเห็นจึงกรอกข้อมูลลงไป หลังจากนั้นก็มีผู้หญิงโทรมาหา คุยสักพักก็บอกว่าโทรมาจากบริษัท Global Adverting ซึ่งเราจำได้ว่าเป็นธุรกิจของยาลดน้ำหนักยี่ห้อ Herbalife"
"เจ้าหน้าที่พยายามจะบอกเราว่า บริษัทรับทำแม๊กกาซีน ออนไลน์ โดยเรียกให้เราไปอบรมวิธีการโฆษณาผ่านแม๊กกาซีน ออนไลน์ ที่ตึกเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ถ.สาธร แต่จริงๆ แล้วเป็นการเรียกไปอบรมเพื่อให้รู้ว่า ถ้าทำเฮอร์บาไลฟ์ แล้วจะได้เงินเยอะแค่ไหน"
เมื่อมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงปัญหาเดิมๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ เพียงแต่ปัจจุบันด้วยกระแสความร้อนแรงของเฟสบุ๊ก จึงทำให้มิจฉาชีพเหล่านี้ เริ่มมองเห็นช่องทางใหม่ในการทำตลาดธุรกิจขายตรง หรือเอ็มแอลเอ็ม เหมือนที่หลายๆ ธุรกิจทำ
การแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ผู้บริโภคพอทำได้ในขณะนี้คือการหลีกเลี่ยงการกดตอบรับเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ลงไป เพื่อป้องกันการถูกคุกคามทางโทรศัพท์ หรือการรายงานกิจกรรมดังกล่าวไปยังผู้ดูแลระบบ โดยกดด้านล่างสุดของหน้าเว็บเพจ จากนั้นเลือกเหตุผลในการร้องเรียน
ตัวแทนจากสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) กล่าวว่า ถ้าผู้บริโภคมั่นใจว่าสแปมที่เข้ามาในเฟสบุ๊กมาจากบริษัทเดียวกัน สามารถรวมตัวกันเพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทดังกล่าว เพื่อเป็นการปลุกแสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นถึงความเดือดร้อนที่ได้รับ และเข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ทันท่วงที


ที่มา :http://web.ruammid.com/go.phpurl=
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2010/08/21/entry-2

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

21 มีนาคม 2554 ....มีบล็อกเป็นครั้งแรกในชีวิตคร้าบบบบบบ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่...บล็อกแรกในชีวิตของ นิสิตคนน่ารัก ธีรพงศ์  มีสัตย์ คร้าบบบบ